A post by Prae Phonboon

I believe that everyone has their own story and each story is different, which is good and bad. If the stories are good, we all want to keep them as good memories, but what about those bad ones? Bad stories might leave you with wounds in your heart and they might be hard to heal. We will try every way to delete, forget or get over those wounds or pain as quick as we can, but how do we do that?

ดิฉันเชื่อว่า ทุกคนมีเรื่องราวของแต่ละคนที่แตกต่างกันไป มีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี เรื่องที่ดีก็น่าที่จะจดจำและเก็บเป็นความทรงจำที่ดีไว้ แต่ส่วนเรื่องที่ไม่ดีละ? เรื่องราวร้ายๆเหล่านั้นอาจทิ้งรอยแผลในหัวใจไว้ให้กับเราได้ ให้เรารู้สึกเจ็บปวดกลายเป็นแผลในใจ และแผลเหล่านั้นมันช่างยากที่จะรักษาเหลือเกิน ทั้งๆที่เราอาจจะพยายามทุกวิถีทางลบ ลืม ทำเป็นไม่รู้สึก กับแผลนั้นเพราะเราอยากที่จะไม่ต้องรู้สึกถึงความเจ็บปวดนั้นให้ได้เร็วที่สุด แล้วเราจะทำได้อย่างไรละ?

In May, I attended a Trauma Healing training seminar in which I received training in order facilitate others through Trauma Healing groups. This opportunity allowed me to gain insight and knowledge in dealing with the pain and bring healing to those who are traumatized, including myself. The passion behind my desire to run the Trauma Healing group came from the experience I received during the training, after which I facilitated two small trauma healing groups. One was at Home of the Swallow, which is an organization that helps disadvantaged single mothers, some of whom are HIV+. The other was at The Well, which focuses on helping and restores lives of disadvantaged women in a Bangkok slum who have been sexually exploited. Being close to many of them in age, it was not hard for me to relate, get to know them and invite them to open their hearts. Once I heard their story, my heart was aching and I could feel the pain with them.

ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสเข้าอบรมเกี่ยวกับการรักษาเยียวยาบาดแผลในจิตใจ การสอนเกี่ยวกับการรักษาเยียวยาบาดแผลในจิตใจ เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากสำหรับช่วยในการจัดการกับความเจ็บปวดในใจและสำหรับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์อันเลวร้าย เผชิญกับความเจ็บปวด และหนึ่งในคนเหล่านั้นก็รวมถึงตัวดิฉันเองด้วย ดิฉันได้นำเอาความรู้ที่ได้มาสอนตัวเองและผู้ที่ต้องการได้รับการรักษาเยียวยาคนอื่นๆด้วย ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสสอนและแบ่งปันให้กับกลุ่มย่อยจาก 2 องค์กร องค์กรแรกชื่อว่า Home of the Swallow (บ้านนกนางแอ่น) ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือผู้หญิงที่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งบางคนก็เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และผู้หญิงที่ถูกแสวงหาประโยชน์ ส่วนอีกองค์กรชื่อว่า The Well (บ้านบ่อน้ำ)เป็นองค์กรเน้นในการช่วยเหลือผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครและหลายคนก็ตกเป็นเหยื่อในการขายบริการทางเพศด้วย ด้วยเหตุที่ดิฉันมีอายุใกล้เคียงกับผู้หญิงหลายๆคนใน 2 กลุ่มนี้ ทำให้การรับรู้ความรู้สึก ความเข้าใจความเจ็บปวดนั้น ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าถึงเลย และกลับทำให้ดิฉันเข้าถึงหัวใจของคนเหล่านั้นได้มากกว่าที่คิดเสียอีก หลายครั้งที่เวลาได้ยินเรื่องราวของแต่ละคน หัวใจของดิฉันก็รู้สึกเจ็บปวดไปพร้อมๆกับของผู้หญิงเหล่านั้น

prae th 1

I believe that there is a wide variety of painful and traumatic experiences and everyone has their own unique way of coping with them. However, we all have wounds in our hearts, and it’s hard to avoid the pain. I want to share some of the individuals’ stories, and I want you to put yourself in their shoes and imagine their story as your own.

ดิฉันเชื่อว่า แต่ละคนมีประสบการณ์เหตุการณ์อันเลวร้าย ความเจ็บปวด ที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับการจัดการความเจ็บปวดในรูปแบบที่ต่างกันด้วยของแต่ละคน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันคือ ทุกคนมีแผลในหัวใจ และมันเป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้รู้สึกถึงความเจ็บปวดของแผลนั้น ดิฉันอยากแบ่งปันเรื่องราวของผู้หญิงที่ดิฉันได้มีโอกาสสอนเกี่ยวกับการรักษาเยียวยาบาดแผลในจิตใจ และอยากให้ผู้อ่านลองจินตนาการดูว่าถ้าเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องราวของคุณเอง คุณจะรู้สึกอย่างไร

‘Sa’, a young beautiful girl who is my age that just recently arrived to Home of The Swallow with her two year old son. When she was young, she lived in the orphanage with many children who did not have parents. She had suffered starvation and had issues with trusting people. She desired for love, attention and care that was absent from her life. Years later, ‘Sa’ decided to run away and see the outside world and ended up working as a sex worker at the bar. She felt so dirty and worthless, but she had no other way to make a quick income to support herself. After that, she had a boyfriend and they had baby together. Unfortunately, he wasn’t ready to be a father and he abandoned her.

‘สา’ เป็นหญิงสาวน่าตาดี อายุรุ่นราวคราวเดียวกับดิฉันเอง และเพิ่งเข้ามาอยู่ที่บ้านนกนางแอ่น พร้อมกับลูกชายวัย 2 ขวบ สาเล่าว่า เมื่อตอนที่เธอยังเล็กๆ เธอได้อาศัยอยู่ที่บ้านเด็กกำพร้ากับเด็กอีกหลายคนที่ไม่มีพ่อแม่เหมือนกับเธอ หลายครั้งที่เธอต้องเผชิญกับความหิวโหยและความไม่ไว้วางใจในคนรอบข้าง สารอคอยและปรารถนาถึงความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลที่แท้จริง ซึ่งเธอไม่เคยได้รับเลยในชีวิต หลายปีผ่านไป เธอได้ตัดสินในหนีออกจากบ้านเด็กกำพร้าเพราะสาอยากได้สัมผัสถึงโลกกว้าง ความเป็นอิสระและชีวิตที่เธออยากกำหนดเอง และต่อมาเธอก็เริ่มทำงานเป็นสาวขายบริการทางเพศที่บาร์ สารู้สึกถึงความสกปรกและไร้คุณค่าในตัวเอง แต่เธอก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะนั่นเป็นวิธีทางเดียวสำหรับเธอที่จะช่วยให้หารายได้อย่างรวดเร็ว อีกไม่นานเธอก็ได้คบหาดูใจกับแฟนหนุ่ม และสาได้ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือแฟนหนุ่มปฏิเสธในการรับผิดชอบเด็กและทิ้งเธอให้อยู่คนเดียวในที่สุด

One of the exercises in the Trauma Healing group involves writing down one’s fears. She wrote down on the paper and expressed her fear of not having enough food/clothes/shelter and toys for her son. She did not want him to grow up in a similar environment as herself. In the last class, she expressed how scared she was for not be able to take care of her son, how dirty she felt when she was a sex worker and that I could see her pain slowly come out by the tears on her cheeks. “I feel much better when I cry” she said. Identifying one’s pain and letting it go is the beginning of healing.

prae th 2

สำหรับการสอนการเยียวยาบาดแผลในจิตในนั้น มีแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการเขียน เข้ามาช่วยในการระบายความรู้สึกและความเจ็บปวด สำหรับสานั้น เธอเขียนระบายถึงความกลัวที่เธอมีในการเลี้ยงดูลูก เธอกลัวว่าเธอจะไม่สามารถมีอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ ของเล่น ให้กับลูกของเธอได้ เพราะเธอไม่อยากที่จะให้ลูกต้องเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่เธอเคยเป็นมาตอนเด็กๆ เธอยังระบายถึงความรู้สึกละอายเมื่อตอนที่เธอทำอาชีพขายบริการที่ทางเพศที่บาร์ ขณะที่เธอเขียนระบายนั้น ดิฉันเห็นน้ำตาที่ค่อยๆไหลลงที่แก้มสองข้างพร้อมๆกับความเจ็บปวดที่ออกมาก และเธอบอกดิฉันว่า “ พี่ๆ หนูโล่งขึ้นเยอะเลยเวลาได้ร้องไห้”

‘Duen’ is seventeen years old and was 9 months pregnant at the time of the class. She was very shy and did not speak much until the last class when she told us her story. I CRIED. This young girl is from northern part of Thailand. Her parents did not agree to send her to school since they had no money. At a young age, Duen entered herself in the bar working as a waitress and finally caught herself in the situation of having an unexpected pregnancy. She ended up living with her husband and his mother who truly hated and insulted her every day. Her husband’s mom told her every day to go away because her son’s life is ruined because of Duen. Months later, Duen found out that her husband cheated on her and barely came home to sleep; therefore Duen had no support from her husband financially, physically and emotionally. It was only her and her baby. After that, she had to start working again…and it was at the bar as a dish washer and she got paid 50 baht per day…yes 50 baht! She had to beg for food and transportation to go home every day. The baby was growing every day and she couldn’t hide anymore so she had to leave a job. Finally her friend introduced her to Home of the Swallow.

‘เดือน’ อายุ 17 ปี และขณะที่เธอยังเรียนกับดิฉันนั้นเธอก็กำลังตั้งครรภ์ 9 เดือน เดือนเป็นคนที่ขี้อายมาก พูดน้อย เธอแทบจะไม่ได้พูดจนกระทั่งการเรียนครั้งสุดท้ายที่ดิฉันสอน และวันนั้นฉันก็ร้องไห้เมื่อได้ยินเรื่องราวของเธอ เธอเล่าว่า เธอมาจากทางเหนือของประเทศไทย ตั้งแต่เล็กพ่อแม่ไม่ให้เธอไปโรงเรียนเพราะไม่มีเงินส่งเรียน พอโตขึ้นเดือนเข้าเมืองมาและทำงานเป็นเด็กเสริฟ์ที่บาร์ และตั้งครรภ์ต่อมา เดือนอาศัยอยู่กับสามีของเธอ แต่แม่ของสามีเกลียดชังเธอมากและชอบกล่าวโทษเธอว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ชีวิตของลูกชายเธอต้องตกต่ำ แม่ของสามีไล่เดือนและลูกในท้องออกจากบ้านทุกวัน ต่อมาเดือนจับได้ว่าสามีของเธอนอกใจเธอไปมีผู้หญิงใหม่และไม่กลับบ้านเลย ทำให้เดือนรู้สึกเจ็บปวดและไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆจากคนที่เธอรัก มีเพียงแต่เธอและลูกที่อยู่ในครรภ์ เดือนตัดสินใจเริ่มทำงานอีกครั้ง โดยเธอไปสมัครเป็นพนักงานล้างจานที่ร้านอาหาร เธอได้รายได้วันละ 50 บาท บ่อยครั้งที่เดือนต้องขอข้าวคนอื่นกินเพื่อประทังชีวิต ต้องขอคนอื่นติดรถไปส่งบ้านเพราะเดินเองไม่ไหวเนื่องจากลูกในท้องก็โตขึ้นทุกๆวัน และสุดท้ายเดือนก็ต้องลาออกจากงาน และมีเพื่อนได้เล่าให้เธอฟังเกี่ยวกับบ้านนกนางแอ่น เธอจึงได้รับการช่วยเหลือจากตรงนั้นต่อมา

At the end of the class when we discuss grieving, one of the activities is writing a lament. Duen was the last person who finished the writing because she had so much in her heart. I could see that from a very shy girl who carried so much on her, but writing helped her express the pain and deal with it! While she was moving her pen and writing down her pain on the paper as same as her tear was going down her face. And that I could see the wall of pain start to come down.

ในช่วงท้ายของการสอน ดิฉันสอนเกี่ยวกับ การเศร้าโศกที่นำไปสู่การรักยาเยียวยา เละหนึ่งในกิจกรรมของบทเรียนนี้คือ การเขียนระบายความโศกเศร้าต่อพระเจ้า ครั้งนั้นดิฉันประหลาดใจมาก เพราะเดือนเป็นคนขี้อาย พูดน้อย แต่เธอกลับกลายเป็นคนสุดท้ายที่ทำกิจกรรมนี้เสร็จ เพราะเธอได้เขียนความเศร้าโศก ความเจ็บปวด ที่เธอมีมากเหลือเกิน เห็นได้ว่าการเขียนนั่นสามารถช่วยเธอได้ ขณะที่เธอขยับด้ามปากกาลงกระดาษ น้ำตาเธอก็ไหลลงมาเช่นกัน เละนั่นเป็นสัญญาณของกำแพงของความเจ็บปวดได้เริ่มพังทลายบ้างแล้ว

‘Ann’, showed her emotion and pain very strongly when I taught the lesson on rape. Ann revealed to us that she was once almost raped by a man who she trusted the most at that time. He ended up locking her in the room and physically abused her. But thank you God who managed to get her out from the horrible situation. The lesson helped her to be able to reveal her past experience, although it hurts to talk about it over and over but it slowly let the pain out every time she finished the story. This pain cannot be healed overnight but now she explored that by talking about it and continually asking God to heal and take away her pain. That is the answer for her.

‘แอน’ ถ่ายทอดความรู้สึกของความเจ็บปวดอย่างชัดเจอเมื่อเราเรียนเกี่ยวกับ การรักษาเยียวยาผู้ที่ถูกข่มขืน แอนเปิดเผยให้ฟังว่า เธอเคยเกือบถูกตกเป็นเหยื่อของการถูกข่มขื่น จากคนที่เธอไว้ใจ แต่เธอกลับรอดมาได้ เพียงแต่ถูกทำร้ายร่างกายและโดนล็อคอยู่ในห้อง แต่ขอบคุณพระเจ้าที่เธอสามารถออกมาจากสถานการณ์อันเลวร้ายได้ จากการเรียนนี้ช่วยให้เธอสามารถพูดถึงเหตุการณ์ในอดีต ถึงแม้ว่ามันเจ็บปวดทุกครั้งที่เล่า แต่ความเจ็บปวดก็ค่อยๆหายไปช้าๆเช่นเดียวกัน ความเจ็บปวดนี้ไม่สามารถหายไปได้ในข้ามคืน แต่แอนบอกว่า การที่เธอได้เล่า ระบายออกมา พร้อมกับขอให้พระเจ้าเยียวยาเธอและนำความเจ็บปวดออกไปจากใจเธอ สิ่งนั่นสามารถช่วยเธอได้

prae th 12

How do you feel?

  คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง?

Can you feel the pain?          

 รู้สึกเจ็บปวดไหมเมื่ออ่านเรื่องราวเหล่านั้น?

Can you hear them cry?

ได้ยินพวกเขาร้องไห้ไหม?

From this trauma healing group, I cried, felt the pain and heard them cry. I let them lament, vent, cry and write down their pain as much as they need. And at the end, we took all the pain to the cross and gave it to God to heal us in his way.

จากการสอนครั้งนี้ ดิฉันร้องไห้   รู้สึกถึงความเจ็บปวด และได้ยินผู้หญิงเหล่านั้นร้องไห้ด้วย ดิฉันให้ทุกคนมีโอกาสเขียนการระบายความรู้สึก ความโศกเศร้าต่างๆ ความเจ็บปวดเท่าไรก็ได้เท่าที่เขาอยากจะเขียน สำหรับบทสุดท้าย เป็นการนำความเจ็บปวดไปไว้ที่ไม้กางเขน เพื่อที่จะให้พระผู้เป็นเจ้าสามารถรักษาเยียวยาบาดแผลในหัวใจเราได้นั่นเอง

Hearing some of those stories made my heart hurt, but I am thankful that God allows me to have the strength to listen and comfort them. Healing the wounds of trauma takes time and we need let God heal us completely.

การที่ได้ยินเรื่องราวต่างๆของผู้หญิงเหล่านั้น ทำให้หัวใจของดิฉันรู้สึกเจ็บปวดไปด้วย อย่างไรก็ตามดิฉันรู้สึกขอบคุณพระเจ้าที่พระองค์ได้ให้โอกาสดิฉันในการสอน การฟัง การปลอบโยนกับคนเหล่านั้น การรักษาแผลในใจนั้นใช้เวลานานและเราทุกคนต้องยอมให้พระเจ้าเป็นผู้รักษาเราเอง

Lastly, I am so blessed to be part of Relentless and be able to do Trauma Healing group with those beautiful women. These people need to have physical care as well as emotional and spiritual care.

สุดท้ายนี้ ดิฉันรู้สึกเป็นพระพรมากในการเป็นส่วนหนึ่งของทีม Relentless ที่ได้มีโอกาสแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาเยียวยาบาดแผลในจิตใจกับผู้หญิงจาก 2 องค์กรนั้น เพราะเขาเหล่านั้นต้องการความเอาใจใส่ดูแลในด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณไปพร้อมๆกัน

Dr. Katherine’s note: Relentless is committed to the wholistic (body + mind + spirit) healing of those who are traumatized through abuse, exploitation, or trafficking. Prae is an essential and integral part of this work!